หลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน) ของ เขตพื้นที่การศึกษา

ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรับผิดชอบอำนาจหน้าที่เดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา กรมวิชาการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ[6] และกระทรวงศึกษาธิการได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 175 เขต[7] และมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บริหารงานในแต่ละเขต ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการอีก 2 ฉบับกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมใน 10 จังหวัด จังหวัดละ 1 เขตได้แก่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา[8] กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พัทลุง เลย มหาสารคาม และอุทัยธานี[9] จำนวนเขตพื้นที่การศึกษาจึงเพิ่มขึ้นเป็น 185 เขต

ต่อมาใน พ.ศ. 2553 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวโดยให้แยกการบริหารงานสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน[10] กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยุบรวมเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตรวมกันเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร[11] และจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขึ้น 42 เขต[12] โดยแยกโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนอื่นที่เหลือให้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร

ท้องที่บริหารการศึกษาในกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็น 3 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ครอบคลุมเขต 17 เขตในฝั่งพระนครได้แก่คลองเตย ดินแดง ดุสิต บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร ยานนาวา ราชเทวี วัฒนา สัมพันธวงศ์ และสาทร เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ครอบคลุมอีก 18 เขตที่เหลือในฝั่งพระนคร ในขณะที่ 15 เขตในฝั่งธนบุรีอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใน พ.ศ. 2553 เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตถูกยุบรวมกันเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร มีอำนาจครอบคลุมทั้ง 50 เขต[11] ในขณะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครถูกโอนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครถูกแบ่งออกเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ สพม.1 และ สพม.2 พื้นที่ของ สพม.1 ประกอบด้วยเขตทุกเขตในฝั่งธนบุรีรวมกับอีก 8 เขตในฝั่งพระนครได้แก่ดุสิต บางซื่อ ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ราชเทวี และสัมพันธวงศ์ ส่วนอีก 27 เขตในฝั่งพระนครอยู่ในพื้นที่ของ สพม.2[12]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้
สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3
(พ.ศ. 2546–2553)
สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3
(พ.ศ. 2546–2553) 
สพป.กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)
สพป.กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) 
สพม.1 และสพม.2
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)
สพม.1 และสพม.2
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) 

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2554 แยกตัวออกจากจังหวัดหนองคาย ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น จังหวัดหนองคายมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 2 และ สพป.หนองคาย เขต 3 ซึ่งพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอของ สพป.หนองคาย เขต 3 เดิมและอีก 2 อำเภอในพื้นที่ของ สพป.หนองคาย เขต 2 ได้แก่อำเภอโซ่พิสัยและอำเภอปากคาด หลังจากจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศให้ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬอยู่ในพื้นที่ของ สพป.บึงกาฬ ยกเลิก สพป.หนองคาย เขต 3 และให้ สพป.หนองคาย เขต 2 มีพื้นที่ครอบคลุมสามอำเภอเดิมที่เหลือได้แก่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี[13] ส่วนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น ให้ สพม.21 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดหนองคายเดิมมีอำนาจครอบคลุมจังหวัดบึงกาฬด้วย[14]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนและหลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ 
หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ
หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ 

ใกล้เคียง

เขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่สรรพากร เขตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง เขตพระนคร เขตพญาไท เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง) เขตพระโขนง เขตพิเศษของโตเกียว เขตพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนด้านตะวันออก (บรูไน–อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ฟิลิปปินส์) เขตพิเศษยกยาการ์ตา

แหล่งที่มา

WikiPedia: เขตพื้นที่การศึกษา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0012499... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0012548... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0012656... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/...